หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มะยม

มะยม
ชื่ออื่นๆ :หมักยม  หมากยม  ยม
ชื่อสามัญ :Star gooseberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllanthus acidus Skeels.
วงศ์ :Euphobiaceae
ถิ่นกำเนิด :เขตร้อนของทวีปแอฟริกา
ลักษณะทั่วไป :ไม้พุ่มโปร่งขนาดกลาง เจริญเติบโตช้า
ฤดูการออกดอก :ต้นฤดูฝน (ปลาย เม.ย. – พ.ค.)
การขยายพันธุ์ :
การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด จากการทดลองตอนต้นขนาดใหญ่อายุประมาณ 10 ปียังสามารถออกรากได้ และออกดอก ติดผลได้ในปีแรกหลังการปลูกกิ่งตอน
การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย แต่ต้องใช้เวลาในการให้ผลผลิตยาวนานกว่าการตอน
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :
เป็นผลไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น การรับประทานผลสด ผลแห้ง การแช่อิ่ม
ข้อแนะนำ :
มะยมเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบร่วงมาก ในพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดมากจึงไม่ควรปลูก
ข้อมูลอื่นๆ :





















                              



ราก รสจืด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
การทำมะยมเชื่อม ดูที่  http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/other/t_food.pdf
มีความเชื่อว่า มะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น