หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ถั่วพู

คนไทยรู้จักถั่วพูในฐานะผักอย่างหนึ่ง เมื่อเอ่ยถึงถั่วพูคนไทยส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงฝักอ่อนของถั่วพูเท่านั้น แต่ความจริงทั้งยอดอ่อน ดอกอ่อน และหัวของถั่วพูก็กินเป็นผักได้เช่นเดียวกัน แต่คนส่วนใหญ่นิยมฝักอ่อนมากกว่า ฝักอ่อนของถั่วพูใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ใช้เป็นผักจิ้ม (กับน้ำพริก, ปลาร้า ฯลฯ) ใช้ได้ทั้งดิบและสุก นอกจากนี้ยังมีตำรับยอดนิยมอื่นๆ อีก เช่น ยำถั่วพู แกงส้ม แกงป่า ฯลฯ และยังหั่นเป็นเครื่องเคียงขนมจีน หรือผสมในทอดมันเช่นเดียวกันกับถั่วฝักยาว แต่ทอดมันที่ใส่ถั่วพูกับถั่วฝักยาวจะมีรสชาติต่างกัน


          ยอดอ่อนและดอก อ่อนก็ใช้เป็นผักได้เช่นเดียวกัน แต่ใช้ปรุงอาหารได้ไม่หลากหลาย และไม่ได้รับความนิยมเท่าฝักอ่อน ส่วนหัวถั่วพูนั้นหากยังไม่แก่จัดใช้เป็นผักได้เช่นเดียวกันกับมันฝรั่ง หัวแก่ใช้เชื่อมหรือแช่อิ่มเป็นของหวาน หรือเผาทั้งเปลือกเช่นเดียวกันมันเทศหรือมันสำปะหลัง
          เมล็ดแก่ของถั่ว พูมีคุณสมบัติคล้ายเมล็ดถั่วเหลือง สามารถใช้แทนถั่วเหลืองได้ทุกอย่าง ในประเทศอินโดนีเซียมีอาหารประเภทพิเศษที่ทำจากเมล็ดถั่วพูนึ่งให้สุกแล้ว ใส่เชื้อหมักจนเกิดเส้นใยคลุมเป็นสีเฉพาะตัวของเชื้อนั้นๆ เช่น สีแสด สีเหลือง ฯลฯ นำมาปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับเต้าหู้ แต่มีกลิ่นรสและคุณค่าทางอาหารเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เทมเป้ (Tempe) ปัจจุบันเทมเป้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ผู้กินอาหารมังสวิรัติและเอาใจใส่เรื่องสุขภาพ แต่เทมเป้นอกประเทศอินโดนีเซียส่วนใหญ่ทำจากถั่วเหลือง เพราะใช้แทนกันได้          เมล็ดถั่วพูแก่มีปริมาณน้ำมันสูงถึงประมาณร้อยละ ๑๘ จึงนำมาสกัดน้ำมันได้ดี ทั้งน้ำมันเมล็ดถั่วพูยังมีคุณภาพสูงอีกด้วย
* สมุนไพร

          แพทย์พื้นบ้านของไทยนำหัวถั่วพูมาใช้เป็นยารักษาโรคมีปรากฏสรรพคุณตามตำราดังนี้ “หัวถั่วพู : รสชุ่มเย็น แก้อ่อนเพลีย หิวโหยหาแรงมิได้ ทำให้ดวงจิตชุ่มชื่น” อีกตำราหนึ่ง บอกว่า “หัวถั่วพู : ตากแห้งหั่นคั่วไฟให้เหลืองหอม ชกน้ำร้อนดื่มเป็นยาชูกำลังของคนป่วย ใบและลำต้น (เถา) ของถั่วพู ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย มีคุณค่าทางอาหารสูง”