หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อบเชย

ชื่ออื่นๆ-
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษCinnamon
ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum verum
ชื่อวงศ์Lauraceae

ชนิดของต้นอบเชย

อบเชย (Cinnamon; Cinnamomum verum) อยู่ในวงศ์ Lauraceae สกุล Cinnamomum ซึ่งมีความหลากหลายกว่า 50 ชนิด พบในทวีปเอเชียและออสเตรเลีย เฉพาะในประเทศไทยเองมีมากกว่า 16 ชนิด อบเชยของไทยนี้มีเนื้อเปลือกหนาและมีกลิ่นอ่อน ส่วนใหญ่เก็บมาจากป่าที่มีต้นอบเชยขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ และนำไปขายตามร้านเครื่องเทศเครื่องยาโบราณ อบเชยญวนและอบเชยชวา ปลูกได้ดีในประเทศไทย หากเป็นการปลูกจากเมล็ด ใช้เวลา 3 ปี ก็จะสามารถลอกเปลือกเพื่อเป็นสินค้าได้แล้ว
อบเชยเป็นต้นไม้ขนาดกลางจัดอยู่ในวงศ์ Lauraceae มีชนิดใหญ่ๆ 5 ชนิดคือ
  1. อบเชยศรีลังกา (Cinnamomum zeylanicum) คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "อบเชยเทศ" มีราคาแพงที่สุด
  2. อบเชยอินโดนีเซีย หรืออบเชยชวา (Cinnamomum burmanii Blume) ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  3. อบเชยญวน (Cinnamomum loureirii Nees) มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้
  4. อบเชยจีน (Cinnamomum cassia Nees ex. Blume) มีเปลือกหนาและเนื้อหยาบเป็นชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ศึกษาวิจัย
  5. อบเชยไทย (Cinnamomum bejolghota) หรืออบเชยต้น (C. iners Rein w. ex. Blume) พบในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ในประเทศ แต่ยังไม่ใช้นำมาปลูกเพื่อผลิตเปลือกอบเชย อบเชยไทยมีมากกว่า 16 สายพันธุ์ และยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยด้านสรรพคุณ เปลือกอบเชยไทยจะหนากว่าอบเชยชนิดอื่น 

สรรพคุณ

อบเชยทำให้ท้องเป็นปกติดี แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน (อาจเป็นเพราะไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยไขมัน) ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรีย และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (ผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา)
อบเชยที่ใช้ปรุงอาหารจะใช้ชนิดหลอด (ม้วนเปลือกให้เป็นหลอด) ใช้ปรุงอาหารเช่นทำพะโล้ ใช้ทำยาไทยหลายตำรับ ตำราไทยระบุว่าอบเชยมีกลิ่นหอม มีรสสุขุม มีสรรพคุณใช้บำรุงจิตใจ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ไข้ สันนิบาต ใช้ปรุงยานัตถุ์แก้ปวดหัว นอกจากการใช้เปลือกตำราไทยยังระบุว่ารากและใบมีกลิ่นหอมรสสุขุม ใช้ต้มดื่มขับลมบำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ
สรรพคุณที่กล่าวถึงในบทความนี้ทั้งหมด คือส่วนที่ละลายน้ำได้และไม่ใช่น้ำมันที่กลั่นได้ (cinnamon oil) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมแต่งกลิ่น เหล้า ขนมหวาน สบู่ และยาเป็นต้น อบเชยชนิดหลอดชาวตะวันตกนิยมใช้คนกาแฟ ชา หรือโกโก้ ซึ่งสาร MHCP ก็จะละลายออกมาอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้ และให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลเช่นกัน แต่เราไม่สามารถทราบถึงปริมาณ MHCP ซึ่งละลายอยู่ได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก หากต้องการใช้ในการรักษาเพราะควรทราบปริมาณที่ใช้อย่างชัดเจน

ผลงานวิจัยที่สำคัญ

ดร.ริชาร์ด แอนเดอร์สัน ได้แนะนำอาสาสมัครของเขาที่ป่วยเป็นเบาหวาน ให้ลองใช้อบเชยเป็นประจำ ปรากฏว่ามีอาสาสมัครนับร้อย ได้รายงานผลดีกลับเข้ามาว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ อบเชยช่วยเร่งให้การสันดาปน้ำตาลกลูโคสเพิ่มขึ้น 20 เท่า นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าการกินอบเชยนั้นไม่มีอันตราย แต่ถ้าหากการทดลองรับประทานเองแต่ละบุคคลนั้น หากได้ผลดีก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเกินคาด ทั้งยังเป็นยาที่เป็นสารธรรมชาติ และในรายที่ไม่ได้ผลดี ก็ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด
อบเชยทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการให้สัญญาณอินซูลิน (Insulin-Signaling System) และอาจจะทำได้ดีกว่าเสียอีกโดยที่อบเชยสามารถทำงาน ก่อนที่จะนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ สามารถใช้อบเชยร่วมกับอินซูลินได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าสาร MHCP สามารถลดความดันโลหิตของสัตว์ทดลองได้ และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกด้วย
แม้ว่าอบเชยจะยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนใช้แทนยาได้ แต่ ดร.แอนเดอร์สัน ก็แนะนำว่าควรทดลองใช้ 1/4 ช้อนชาถึง 1 ช้อนชาต่อวัน เมื่อคำนวณดูแล้ว 1 ช้อนชาจะหนักประมาณ 1,200 มิลลิกรัม ดังนั้น ขนาด 1/4 ช้อนชา จึงประมาณเท่ากับ 300 มิลลิกรัม สามารถบรรจุลงในแคปซูล หมายเลข 1 ได้กำลังพอดี ขนาดที่ควรใช้ก็คือ 1 แคปซูล ทุกมื้ออาหาร วันละ 4 มื้อ ในกรณีที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่บิดามารดาเป็นเบาหวาน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารมื้อใหญ่ วันละ 1-2 เม็ด ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารและขับลมได้ด้วย อบเชยชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ทดลองนั้นเป็นชนิดที่เข้าหาได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มาจากเปลือกต้นอบเชยจีนคือ Cassia (Cinnamomum cassia) ซึงคล้ายกับชนิดที่มีอยู่ในป่าบ้านเรา อบเชยชวาจะใช้ได้ดีที่สุด
การใช้อบเชยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นวิธีช่วยผู้เป็นเบาหวานโดยใช้สารธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งกับเกษตรกรผู้ปลูกอบเชยในเขตเอเชียตอนใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย มีหลายฝ่ายคิดว่าอบเชยทีดีคือ อบเชยที่ยังไม่ผ่านการฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงควรนำเปลือกอบเชยแห้งที่ม้วนอยู่เป็นหลอดมาบดให้ละเอียดเก็บไว้ใช้เองหรือจำหน่าย แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้เป็นเบาหวานคือ จะต้องไม่ลืมเรื่องการงดอาหารที่ไม่ควรบริโภค และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง และ พบแพทย์ตามนัดหมาย หากใช้อบเชยกรุณาบอกแพทย์ด้วย
หากซื้ออบเชยชนิดเป็นหลอดเพื่อนำมาบดใช้เอง ควรเลือกที่ใหม่และยังไม่ถูกนำไปต้มสกัดเอารสกลิ่นไปใช้ก่อนแล้ว จึงจะเห็นผลเช่นที่ดร.แอนเดอร์สันได้ทดลองไว้ หากเลือกไม่ดีอาจใช้ไม่ได้ผล จึงควรคำนึงในเรื่องคุณภาพและชนิดของอบเชยชนิดที่ใช้ด้วย
ล่าสุดจากการติดต่อโดยตรงกับดร.แอนเดอร์สัน ได้รับทราบว่าผลการศึกษาวิจัยในคนถูกตีพิมพ์ในวารสาร เดือนธันวาคม พ.ศ.2546 ผลที่ได้จากการให้อบเชยแก่ผู้ป่วยเบาหวานพบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดีขึ้นระหว่าง 12-30 % จึงเป็นผลที่ยืนยันการศึกษาวิจัยเดิมและน่านำไปใช้เพื่อป้องกัน และใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น